เมนู

รู้อย่างนี้ว่าเราเป็นผู้พลาดแล้ว เราเป็นผู้ถือเอาผิดแล้ว เราถูกเขายกโทษ
ขึ้นแล้ว ดังนี้ . บทว่า ปณฺฑิตวตฺลูนิ แปลว่า เหตุเพื่อประโยชน์แก่ความ
เป็นบัณฑิต.
จบอรรถกถาอาชินสูตรที่ 4

5. สคารวสูตร


ว่าด้วยฝั่งนี้และฝั่งโน้น


[117] ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อว่าสคารวะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ
ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล
เป็นฝั่งนี้ อะไรเป็นฝั่งโน้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อน
พราหมณ์ มิจฉาทิฏฐิเป็นฝั่งนี้ สัมมาทิฏฐิเป็นฝั่งโน้น มิจฉาสังกัปปะ
เป็นฝั่งนี้ สัมมาสังกัปปะเป็นฝั่งโน้น มิจฉาวาจาเป็นฝั่งนี้ สัมมาวาจา
เป็นฝั่งโน้น มิจฉากัมมันตะเป็นฝั่งนี้ สัมมากัมมันตะเป็นฝั่งโน้น มิจฉา-
อาชีวะเป็นฝั่งนี้ สัมมาอาชีวะเป็นฝั่งโน้น มิจฉาวายามะเป็นฝั่งนี้ สัมมา-
วายามะเป็นฝั่งโน้น มิจฉาสติเป็นฝั่งนี้ สัมมาสติเป็นฝั่งโน้น มิจฉาสมาธิ
เป็นฝั่งนี้ สัมมาสมาธิเป็นฝั่งโน้น มิจฉาญาณะเป็นฝั่งนี้ สัมมาญาณะเป็น
ฝั่งโน้น มิจฉาวิมุตติเป็นฝั่งนี้ สัมมาวิมุตติเป็นฝั่งโน้น ดูก่อนพราหมณ์
นี้แลเป็นฝั่งนี้ นี้เป็นฝั่งโน้น .
ในหมู่มนุษย์ เหล่าชนผู้ไปถึงฝั่งโน้นมีประมาณ
น้อย ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งทั้งนั้น ส่วน

ชนเหล่าใดประพฤติตามธรรมในธรรม อันพระตถา-
คตตรัสแล้วโดยชอบ ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ
อันเป็นบ่วงมารที่ข้ามพ้นได้แสนยาก แล้วจักถึงฝั่ง
โน้น คือนิพพาน บัณฑิตละธรรมดำเสวยแล้ว พึงยัง
ธรรมขาวให้เจริญ บัณฑิตละกามทั้งหลายแล้ว เป็น
ผู้ไม่มีกังวล ออกจากความอาลัย อาศัยธรรมที่ไม่มี
ความอาลัย พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวก ที่
ยินดีได้แสนยาก บัณฑิตพึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว
จากเครื่องเศร้าหม่องจิตทั้งหลาย บัณฑิตเหล่าใด
อบรมโดยชอบในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย
ไม่ถือมั่นแล้ว ยินดีในนิพพาน เป็นที่สละความถือมั่น
บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะ มีความรุ่งเรื่อง ดับสนิท
แล้วในโลก.

จบสคารวสูตรที่ 5

อรรถกถาสคารวสูตรที่ 5


สคารวสูตรที่ 5

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า โอริมํ ตีรํ ได้แก่ โลกิยะ ชื่อว่าฝั่งนี้. บทว่า ปาริมํ ตีรํ
ได้แก่ โลกุตระ ชื่อว่าฝั่งโน้น.
บทว่า ปารคามิโน ได้แก่ ผู้ถึงพระนิพพาน. บทว่า ตีรเนวานุ-
ธารติ
ได้แก่ วิ่งแล่นไปสู่ฝั่ง คือ สักกายทิฏฐิ. บทว่า ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน